เมื่อถึงคราวที่ต้องบอกลาเหล็กจัดฟัน หลาย ๆ คนก็คงดีใจ เพราะเป็นวันที่เฝ้ารอมานาน แต่ถึงจะถอดเครื่องมือแล้ว ไม่ได้หมายความว่ากระบวนการจัดฟันจะเสร็จสมบูรณ์ 100% เพราะหลังถอดเครื่องมือแรก ๆ สภาพเหงือกและฟันยังไม่แข็งแรงเท่าที่ควร และมีโอกาสที่ฟันจะเคลื่อนกลับไปอีก จึงต้องมีการเช็คความเรียบร้อย และเข้าสู่กระบวนหลังจัดฟันเพื่อคงสภาพฟัน รวมถึงวิธีการดูแลช่องปากให้สะอาดหลังถอดเครื่องมือ ซึ่งจะมีขั้นตอนอะไรบ้างนั้น ตามมาอ่านกันเลย

เนื่องจากเครื่องมือจัดฟันติดอยู่กับฟันเราเป็นเวลานานหลายปี ทันตแพทย์จึงต้องมีการเคลียร์ช่องปาก และเช็คความเรียบร้อยอีกรอบ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่

1. ตรวจเช็คฟันผุ และขูดหินปูน ในช่วงที่จัดฟัน อาจมีฟันผุเพิ่มข้ึนในตำแหน่งที่มองเห็นได้ยาก และทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง และคราบสกปรกและหินปูนที่เกาะบนผิวฟัน ดังนั้นจำเป็นต้องมีการเช็คและทำความสะอาดอย่างละเอียด เพื่อทำให้ฟันสะอาดเรียบร้อย
2. ฟอกสีฟัน หลาย ๆ คนที่กังวลใจเกี่ยวกับปัญหาฟันเหลืองขณะจัดฟัน เพราะติดเหล็กมาเป็นเวลานาน และทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง ทันตแพทย์จึงมีการฟอกสีฟัน เพื่อให้ฟันกลับมาขาวสะอาดหลังถอดเครืองมือ
3. ทำรีเทนเนอร์ (Retainer) เป็นเครื่องมือคงสภาพฟัน จำเป็นต้องใส่ตามคำสั่งทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการเคลื่อนตัวของฟัน และต้องใส่ตลอดเวลาในช่วง 1 ปีแรก

การดูแลช่องปากหลังถอดเครื่องมือจัดฟัน

  • หลักเลี่ยงการทานอาหารแข็ง เหนียว หรือเคี้ยวยากในช่วงแรกที่ถอดเครื่องมือจัดฟัน เนื่องจากฟันยังไม่แข็งแรงมากพอ
  • เลือกใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม ไม่ทำร้ายเหงือกและฟัน ช่วยลดความเสี่ยงที่ฟันและเหงือกจะเสื่อมสภาพในอนาคต และควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง รวมถึงการใช้ไหมขัดฟันร่วมได้ เพื่อทำความสะอาดเศษอาหารในส่วนที่แปรงสีฟันทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง
  • ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์สูง เพื่อป้องกันฟันผุ และลดกลิ่นปาก
  • ใส่รีเทนเนอร์ทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร และควรใส่ตลอดเวลา รวมถึงขณะหลับ และหมั่นทำความสะอาดรีเทนเนอร์ทุกวัน

ถึงแม้จะถอดเครื่องมือจัดฟันแล้ว แต่กระบวนการจัดฟันถือว่ายังไม่เสร็จสิ้น เพราะยังต้องดูแลช่องปากให้ดีเช่นเดิม รวมถึงการใช้เครื่องมือคงสภาพฟัน และคอยติดตามอาการอยู่เสมอ เพื่อคงความเรียงสวย และความแข็งแรงของฟัน ไม่เคลื่อนตัวกลับตำแหน่งเดิม หากปฏิบัติตามทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด